โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ เดิมชื่อ“วิทยาลัยพิบูลประชาสรรค์” เป็นสถานศึกษาในสังกัด กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย เนื่องด้วยจากการที่คณะรัฐบาล ซึ่งมี ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติ จัดสร้างอาคารสงเคราะห์สำหรับประชาชน ผู้ยากไร้ที่อยู่อาศัยบริเวณแหล่งเสื่อมโทรม ดินแดง-ห้วยขวาง เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชนเหล่านั้น และเป็นการช่วยแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ และ สังคมของประเทศชาติด้วย ต่อมาท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ผู้อุปถัมภ์ของสหพันธ์กรรมการหญิง ได้พิจารณาเห็นว่าในบริเวณอาคารสงเคราะห์แห่งนี้น่าจะมีสถานศึกษาสำหรับให้ประชาชน ได้ส่งบุตรหลานเข้ารับการศึกษาเล่าเรียน จึงได้สถาปนา “วิทยาลัยพิบูลประชาสรรค์” ขึ้นเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2495 โดยมีนางเอื้อนทิพย์ เปรมโยธิน เป็นผู้อำนวยการท่านแรก (พ.ศ.2499 – พ.ศ.2516)ในด้านการจัดการศึกษาเริ่มแรกนั้นวิทยาลัยพิบูลประชาสรรค์จัดการศึกษาแบบสหศึกษาแบ่งเป็น 4 แผนกคือ แผนกอนุบาล แผนกประถมศึกษา แผนกมัธยมศึกษา และแผนกอาชีวศึกษา |
พ.ศ.2500 เปิดโครงการสอนเด็กเรียนช้า I.Q. 70 – 90 ในระดับประถมศึกษา
พ.ศ.2503 กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดแผนการศึกษาแห่งชาติขึ้นใหม่ โดยกำหนดให้สถานศึกษา ถือเป็นแนวปฏิบัติแนวทางเดียวกัน วิทยาลัยพิบูลประชาสรรค์จึงได้โอนแผนกอาชีวศึกษาไปให้กับกรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย (ปัจจุบันคือสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานแห่งชาติ) และได้เปลี่ยนแปลงแผนกมัธยมศึกษา มาเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ฐานะของวิทยาลัยพิบูลประชาสรรค์ จึงเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียน พิบูลประชาสรรค์ แต่ยังคงสังกัดในกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยอยู่เช่นเดิม
พ.ศ.2516 นางปรีดา จันทรุเบกษา ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน (พ.ศ.2516-2533)
พ.ศ.2519 โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เปิดการเรียน
การสอน ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และได้รับงบประมาณจัดสร้างอาคารเรียนถาวร 1 หลัง งบประมาณ 1 ล้านบาท และสร้างอาคารชั่วคราว 1 หลัง
พ.ศ.2519-2524 โรงเรียนเปิดการสอนในโครงการทดลองการเรียนแบบไม่แบ่งชั้นของหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
20 เม.ย. 2520 ได้รับอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทยจัดตั้งมูลนิธิพิบูลประชาสรรค์ โดยมี ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงครามเป็นผู้อุปถัมภ์ และประธานมูลนิธิคนแรก คือ หม่อมอรุณ กาญจนะวิชัย ณ อยุธยา
16 ม.ค. 2521 คณะรัฐมนตรีมีมติให้โอนโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ จากสังกัดกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย ไปขึ้นสังกัดกองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการเมื่อโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ไม่ได้สังกัดกรมประชาสงเคราะห์แล้ว จึงจำเป็นต้องโอนที่ดินให้กับกรมประชาสงเคราะห์ และกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม จากเดิมมีเนื้อที่ 70 ไร่ ปัจจุบันโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์มีเนื้อที่ทั้งหมด 35 ไร่ 2 งาน 16 ตารางวา
พ.ศ.2522 ก่อตั้งสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ โดยมี นายเสนอ สิทธิวงษ์ เป็นนายกสมาคมคนแรก
พ.ศ.2523 – ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นโรงเรียนผู้นำการใช้ หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521
– ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกโครงการศูนย์ความเข้าใจอันดี ระหว่างชาติของกองสัมพันธ์ ต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ.2524 เปิดโครงการเรียนร่วมของนักเรียนหูตึง ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
พ.ศ.2525 ได้รับงบประมาณในการจัดสร้างอาคารเรียน 1 หลัง (อาคาร 6) สร้างด้วยเงินงบประมาณจำนวน 5,050,000 บาท จัดสร้างเป็นอาคาร 4 ชั้น 15 ห้องเรียน
พ.ศ.2526 โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ ร่วมกับ มูลนิธิพิบูลประชาสรรค์ได้จัดหาทุนในโครงการก่อสร้าง
อนุเสาวรีย์ ฯพณฯจอมพล ป.พิบูลสงคราม เพื่อรำลึกถึงพระคุณผู้ให้การสถาปนาโรงเรียน
17 ส.ค. 2527 ประกอบพิธีเปิดอนุเสาวรีย์ฯพณฯจอมพล ป.พิบูลสงคราม โดย พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารบก สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฆฒโน ปธ.9) วัดบวรนิเวศวิหารประธานสงฆ์
25 พ.ย. 2527 โรงเรียนได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณโรงเรียนประถมศึกษาดีเด่นจากกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ.2528 – ได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษาในการจัดสร้างอาคารเรียน 1 หลัง
(อาคาร 2) เพื่อขยายการจัดชั้นเรียน และห้องปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นเงินทั้งสิ้น 4,800,000 บาท
– สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ได้จัดสร้างอาคาร เอนกประสงค์ บริเวณหน้าโรงเรียนเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการประชาสัมพันธ์ และการรักษาความปลอดภัย ให้กับโรงเรียนด้วยงบประมาณทั้งสิ้น 245,000 บาท ต่อเติมโรงอาหาร ใช้งบประมาณ 476,000 บาท
พ.ศ.2529 โรงเรียนได้รับคัดเลือกจากกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น รุ่นที่ 3
พ.ศ.2530 – ได้รับโล่ยกย่องว่าเป็นโรงเรียนที่นักเรียนมีความประพฤติดี และบำเพ็ญประโยชน์ต่อ
สังคมมากที่สุดจากคณะกรรมการจัดฉลองวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.2530
– สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ ก่อสร้างสนามบาสเกตบอล 1 สนาม เป็นเงิน 260,000 บาท
14 ก.ค. 2530 โรงเรียนได้เชิญ อธิบดีกรมสามัญศึกษา นายพะนอม แก้วกำเนิด เป็นประธานในพิธี วันสถาปนาโรงเรียน และรับมอบศาลาสมาคมฯ โรงอาหารและสนามบาสเกตบอลเพื่อให้เป็นสมบัติของโรงเรียน
17 ก.ย. 2530 กระทรวงศึกษาธิการ มอบเกียรติบัตรให้โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ที่ได้ดำเนินการใชั
หลักสูตรมัธยมศึกษาดีเด่น ปีการศึกษา 2530
14 ก.ค. 2531 พลเอกวันชัย เรืองตระกูล รองผู้บัญชาการทหารบก และรองผู้บัญชาการ กองกำลังรักษาพระนคร มอบอาคารธารน้ำใจ “เรืองจำรัสพัฒนา 3” ซึ่งท่านและคณะญาติก่อสร้างเป็นเงิน 250,000 บาท มอบให้เป็นสมบัติของโรงเรียน โดยอธิบดีกรมสามัญศึกษา นายพะนอม แก้วกำเนิด เป็นผู้รับมอบ เพื่อให้ใช้เป็นอาคารโครงการวิชาชีพแบบครบวงจรของนักเรียน
17 ส.ค. 2533 ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ อธิบดีกรมสามัญศึกษาเป็นประธานรับมอบเสาธงชาติ ซึ่งมูลนิธิพิบูลประชาสรรค์ก่อสร้างมอบให้เป็นสมบัติ ของโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ เป็นเงิน 170,000บาท ตั้งอยู่ที่สนามอาคาร 2
26 ก.ย. 2533 พิธีเบิกพระเนตรพระพุทธรูปประจำโรงเรียน ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชฯ ให้นามพระพุทธรูปประจำโรงเรียนว่า “พระพุทธพิบูลปรีดาประชานาถ” ประดิษฐาน ณ หน้าอาคาร 1
พ.ศ.2534 ได้รับคัดเลือกจากกรมสามัญศึกษาให้เป็น “โรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่น”เขตกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2533
พ.ศ.2537 ได้รับโล่เชิดชูเกียรตินักเรียนผู้กระทำความดีจากสำนักงาน ป.ป.ป.
พ.ศ.2538 – ได้รับงบประมาณในการจัดสร้างโรงยิม 1หลัง สร้างด้วยเงินงบประมาณจำนวน14,975,059 บาท ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2538
– ได้รับคัดเลือกให้เป็นศูนย์พลานามัย กลุ่ม 4
พ.ศ.2540 โรงเรียนได้รับมอบหมายจากกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาส่วนกลางกลุ่มที่ 4 ให้เป็นศูนย์พลานามัย อีกทั้งกรมสามัญศึกษาตั้งให้โรงเรียนเป็นศูนย์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน การเรียนร่วมการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา (ศูนย์ที่ 20)
พ.ศ.2541 โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ได้เปลี่ยนไปสังกัดกองการศึกษาสงเคราะห์ กรมสามัญศึกษา ได้รับงบประมาณในการจัดอาคารหอประชุม1หลัง สร้างด้วยเงินงบประมาณจำนวน 3,870,000 บาท ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2541 ได้รับงบประมาณในการจัดอาคารเรียน1หลัง (อาคาร 8) สร้างด้วยเงินงบประมาณจำนวน 31,380,000 บาท
พ.ศ. 2542 – รางวัลชนะเลิศจินตลีลาประกอบเพลงนวมินทร์มหาราชา
– รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 วิชาพิมพ์ดีด ภาษาอังกฤษ จากกลุ่มโรงเรียน กลุ่ม 4
พ.ศ.2545 – ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนแกนนำการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานปีการศึกษา 2544
เกียรติบัตรโรงเรียนที่จัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ระดับมาตรฐานคุณภาพดีเด่นของกรมสามัญศึกษา
พ.ศ. 2546 เกียรติบัตรโรงเรียนปลอดยาเสพติด
16 ก.ค.2546 โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ บริหารงานเป็นนิติบุคคล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 สำนักงานบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
6 ก.ย. 2546 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 มอบให้โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ เป็นศูนย์พัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วม
พ.ศ.2546 โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ได้เปลี่ยนไปสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 ตั้งแต่วันที่ 7กรกฎาคม 2546
พ.ศ.2548 โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์เป็นโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมดีเด่นระดับประเทศ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
14 ก.ค.2550 ครบรอบ 55 ปี วันสถาปนา โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ และเปิดห้องพิพิธภัณฑ์จอมพล ป. พิบูลสงคราม
พ.ศ.2552 โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ได้เปลี่ยนไปสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ